http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 07/08/2024
สถิติผู้เข้าชม14,398,401
Page Views16,731,808
« November 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

จังหวัดสิงห์บุรี  จัดงานแข่งขันเรือยาวประเพณี ครั้งที่ 26 ประจำปี  2556 

จังหวัดสิงห์บุรี  จัดงานแข่งขันเรือยาวประเพณี ครั้งที่ 26 ประจำปี  2556 

จังหวัดสิงห์บุรี จัดงานแข่งขันเรือยาวประเพณี ครั้งที่ 26 ประจำปี 2556

ชิงถ้วยพระราชทานในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ณ สนามลำแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสิงห์บุรี (หลังเดิม)

ระหว่างวันที่ 22 - 23 ตุลาคม 2556        

นายสุรพล  แสวงศักดิ์   ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี เป็นประธานเปิดงานแข่งขันเรือยาวประเพณี ครั้งที่ 26 ประจำปี  2556  ชิงถ้วยพระราชทานในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  ณ สนามลำแม่น้ำเจ้าพระยา  บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสิงห์บุรี (หลังเดิม)  ระหว่างวันที่  22 - 23  ตุลาคม  2556  โดยมีนายณรงค์ศักดิ์ วิงวอน นายกเทศมนตรีเมืองสิงห์บุรี ให้การต้อนรับ กล่าวรายงานและร่วมสัมผัสลูกแก้วเปิดงาน         

นายสุรพล  แสวงศักดิ์   ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี เปิดเผยว่า จังหวัดสิงห์บุรีเป็นจังหวัดที่มีแม่น้ำ   ๓    สายไหลผ่าน คือ  แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำน้อย ทุกสายน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์และเป็นสายน้ำที่หล่อเลี้ยงทุกชีวิต   อีกทั้งเป็นแหล่งกำแหล่งกำเนิดขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น การคมนาคมของประชาชนริมสองฝั่งริมแม่น้ำน้อยในอดีตส่วนใหญ่จะใช้เรือ เป็นพาหนะในการสัญจรไปมาโดยเฉพาะในช่วงระหว่างเข้าพรรษาน้ำเหนือไหลบ่า ซึ่งวัดต่างๆ ที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยจะใช้เรือเป็นพาหนะในการบิณฑบาต วัดไหนมีพระภิกษุสงฆ์ เณร จำนวนมากเรือที่ใช้ก็จะยาว    

 

ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี สุรพล แสวงศักดิ์ (นปส.41)

  ในอดีตชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดสิงห์บุรีส่วนใหญ่ใช้เรือเป็นพาหนะในการเดินทาง ทั้งการค้า การประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และการสัญจรไปมาของประชาชนทั่วไป นับได้ว่าการใช้เรือเป็นหนทางที่สะดวกที่สุดในสมัยนั้น และฤดูน้ำหลากของทุกปีหรือช่วงเทศกาลออกพรรษาทางวัดและชาวบ้านได้จัดกิจกรรมงานบุญต่าง ๆ อาทิ การทำบุญตักบาตร ฟังธรรมเทศนา และพัฒนาวัด นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมการแข่งขันเรือยาว ที่รวมกลุ่มชาวบ้านจากท้องถิ่นต่าง ๆ นำเรือยาวและทีมแข่งขันที่ฝึกซ้อมกันอย่างดี มาประชันฝีพายกันในช่วงเวลาดังกล่าว และสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณีมาจนถึงปัจจุบัน โดยเป็นที่มาของการแข่งขันเรือยาวประเพณี จังหวัดสิงห์บุรี ชิงถ้วยพระราชทานในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี        

นายกเทศมนตรี ณรงค์ศักดิ์ วิงวอน


 นายณรงค์ศักดิ์ วิงวอน นายกเทศมนตรีเมืองสิงห์บุรี กล่าวว่าการแข่งขันเรือยาวประเพณี จังหวัดสิงห์บุรี ชิงถ้วยพระราชทานในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่างวันที่ 22 - 23 ตุลาคม 2556 โดยจังหวัดสิงห์บุรี และเทศบาลเมืองสิงห์บุรี ร่วมกันจัดขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริม และอนุรักษ์วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม และเกมส์กีฬาพื้นบ้านที่มีมาในอดีตให้คงอยู่คู่ท้องถิ่น อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัด และพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น คาดว่าจะสามารถดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าภายในจังหวัดสิงห์บุรีเพิ่มมากขึ้น และเกิดการกระจายรายได้ให้กับได้อีกทางหนึ่ง 

ช่วงเช้านายณรงค์ศักดิ์ วิงวอน นายกเทศมนตรีเมืองสิงห์บุรี อันเชิญถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี โดยใช้ช้างอันเชิญถ้วยพระราชทาน แห่ไปรอบเมือง สองข้างทางประชาชนชาวสิงห์บุรีร่วมชมขบวนอย่างเนืองแน่นตลอดเส้นทางที่ขบวนผ่าน เพื่อทำพิธีเปิดการแข่งขันเรือยาวประเพณีของจังหวัดสิงห์บุรี ระหว่างวันที่ 22 – 23 ตุลาคม 2556 ที่สนามแข่งข้างลำน้ำเจ้าพระยา หน้าศาลากลางจังหวัดหลังเก่า 

  

ผลการแข่งเรือยาวประเพณี จังหวัดสิงห์บุรี ชิงถ้วยพระราชทานในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่างวันที่ 22 - 23 ตุลาคม 2556 

ประเภท 55 ฝีพาย 
ชนะเลิศ                       สิงห์ปทุม จ.ปทุมธานี  ครองถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี 
รองชนะเลิศอันดับ 1      พรพระแก้ว วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร จ.สิงห์บุรี 
รองชนะเลิศอันดับ 2      เจ้าแม่ประดู่ทอง หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือ 
รองชนะเลิศอันดับ 3      เทพสุริยะ-กระทิงแดง จ.สุรินทร์ 

ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรีและคณะแถลงข่าว


 
ประเภท 40 ฝีพาย 
ชนะเลิศ                       แม่เศรษฐีเรือทอง วัดพุน้อย จ.ลพบุรี ครองถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี  
รองชนะเลิศอันดับ 1      เกรียงเดชรัต-กระทิงแดง จ.เพชรบุรี 
รองชนะเลิศอันดับ 2      พรพระแก้ว วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร จ.สิงห์บุรี 
รองชนะเลิศอันดับ 3      เจ้าแม่ประดู่เงิน หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง กองทัพเรือ 
 
ประเภท 30 ฝีพาย ก 
ชนะเลิศ                       เดชสกุลฤทธิ์ ซุ้มเรือบางพระนอน จ.สิงห์บุรี ครองถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี  
รองชนะเลิศอันดับ 1      พรพระแก้ว2 วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร จ.สิงห์บุรี  
รองชนะเลิศอันดับ 2      พรพระแก้ว1 วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร จ.สิงห์บุรี 
รองชนะเลิศอันดับ 3      สาวเมืองเพชร-กระทิงแดง จ.เพชรบุรี 

การแข่งเรือยาวจังหวัดสิงห์บุรี


 
ประเภท 30 ฝีพาย ข 
ชนะเลิศ                       หมื่นไวย์วรนาถ วัดตะเคียนเลื่อน จ.นครสวรรค์ 
รองชนะเลิศอันดับ 1      เพชรโนรี จ.นครสวรรค์ 
รองชนะเลิศอันดับ 2      ตองเจ วัดสุวรรณราชหงส์ จ.อ่างทอง 
รองชนะเลิศอันดับ 3      แม่โขงเอกนาวา วัดหอมเกร็ด จ.นครปฐม 

 

รองผู้ว่าการฯททท.อภิชาติ อินทรพงษ์พันธ์

อภิชาติ  อินทร์พงษ์พันธ์ 

รองผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ด้านนโยบายและแผน 

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดวางรูปแบบที่จะเพิ่มศักยภาพของ จังหวัดสิงห์บุรี ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรม ได้หยิบยกเอาประวัติศาสตร์ของเมืองแห่งตำนานของ”ชาวบ้านบางระ จัน”ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนและถาวร สำหรับประเพณีการแข่งขันเรือยาว ชิงถ้วยพระราชทานจาก “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี” ซึ่งจัดมาเป็นระยะเวลานานถึง 26 ปี มาแล้ว นำมาผสมผสานให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ ที่จะรองรับนักท่องเที่ยวที่มาสนใจประเพณีนี้นอกจากจะได้”ชิมปลา”ที่มีเทศกาล”กินปลา”ในระหว่าเดือนธันวาคมจนไปถึงปีใหม่ของทุกปี ซึ่ง”สิงห์บุรี”ยังมีความหลากหลายทางศักยภาพ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ที่จะได้รับการพัฒนาต่อไป 

นายอภิชาต อินทร์พงษ์พันธ์ รองผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ด้านนโยบายและแผน ซึ่งเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของชาวสิงห์บุรี ถิ่นฐานที่มีชาว”ไทยพวน”ซึ่งมีประเพณีวัฒนธรรมพื้นบ้านชองชนเผ่านับถือผีอยู่ที่อำเภอพรหมบุรี ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการวางแผนงานที่จะสร้าง”สิงห์บุรี”ให้กลายเป็นแหล่งท่อง เที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมอย่างถาวรสืบไป เพราะมองเห็นถึงการสร้างจังหวัดแห่งนี้ให้กลายเป็นแหล่งท่อง เที่ยวอีกแห่งหนึ่ง เพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่ AEC อีกสองปีข้างหน้านี้ โดยการดึงเอาผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี องค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี และจุดสนใจของแหล่งท่องเที่ยว มาร่วมมือกันเพื่อวาง แผนให้สิงห์บุรี กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวครบวงจร เพื่อจะกลายเป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวได้ในอนาคต 

การหยิบยกเอาการแข่งขันเรือยาวประเพณี ที่จะต้องจัดขึ้นในวันที่ 22-23 ตุลาคมของทุกปี มาเป็นจุดขายถึงความเป็นไปได้ เพราะการแข่งขันเรือยาวประเพณีนี้มีหลายประเทศในเอเชีย ที่มีการจัดการแข่งขันแบบนี้ โดยเฉพาะที่ประเทศญี่ปุ่น เมืองนางาซากิ จังหวัดโอกินาวา ซึ่งทางรองผู้ว่าฯได้เดินทางไปประสานงานเชื่อมสัมพันธไมตรีกับนายกเทศมนตรีของเมืองนางาซากิ เพราะได้เห็นถึงประเพณีการแข่งเรือของชาวญี่ปุ่นที่มีวัฒนธรรมการแข่งขันที่ใกล้เคียงกันเป็นอย่างมาก การเดินทางไปดูการแข่งขันที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 3-4-5 พฤษภาคมของทุกปี มีความละม้ายคล้ายกันมาก ทางการท่อง เที่ยวก็ประสานงานกันไป จนกระทั่งทางประเทศญี่ปุ่นให้ความสนใจ ทีวีของญี่ปุ่น ได้มาทำการบันทึกการ แข่งขันเรือในประเทศไทยไปเผยแพร่ เพื่อให้ชาวญี่ปุ่นได้รู้ว่าเรากำลังจะเชื่อมสัมพันธไมตรี ด้วยการดึงเอาประเพณีการแข่งขันเรือยาว ที่เราแข่งกันมาทุกปีให้กลายเป็นประเพณีบ้านพี่เมืองน้องปรองดองกันได้ 

ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้เชิญสื่อมวลชนจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้เข้ามาถ่ายทำสารคดีประเพณีแข่งเรือยาว ของเราเอาไปเผยแพร่ให้กับชาวญี่ปุ่นได้รับรู้ว่าการแข่งเรือยาวประเพณีของเราไม่แตกต่างกันสักเท่าไหร่ ของญี่ปุ่นจะแข่งในเดือนพฤษภา ส่วนของเราจะมีในเดือนตุลาคม เพื่อให้วัฒนธรรมสองประเทศนี้เชื่อมเข้ากันได้ด้วยประเพณีการแข่งเรือ ซึ่งเรายังจะต้องพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอีกมากมาย รวมไปถึงการท่องเที่ยวในเชิงเกษตร ซึ่งสิงห์บุรีเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ สามารถนำเอาทรัพยากรท้องถิ่นออกมาเป็นจุดขายได้ และ ทางการท่องเที่ยวก็ได้ส่งเสริมให้โรงเรียนเทศบาลสิงห์บุรี ให้สร้างไกด์ท้องถิ่นขึ้นมารองรับ AEC และยังมีประเพณีวัฒนธรรม”กำฟ้า”ของชาวไทยพวน ที่สามารถสร้างสรรค์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ ซึ่งยังมีวัดอัมพวัน เป็นที่รองรับการนั่งยำเพ็ญกัมมัฏฐานในทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ที่มีศรัทธา สาธุชนเข้ามาบำเพ็ญกุศลหลายพันคน มีแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรม เกี่ยวกับวัดวาอารามมากมายเช่น”พระนอนจักสีห์”ซึ่งเป็นสถานที่บำเพ็ญกุศล ซึ่งได้รับการลงรักปิดทองใหม่ใช้ทองคำปิดไปมากมายมหาศาลเพื่อสร้างศรัทธาได้เป็นอย่างดี 

การเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างเมืองนางาซากิ จังหวัดโอกินาวา กับประเพณีแข่งเรือยาวของสิงห์บุรี ซึ่งทางประเทศญี่ปุ่นได้รับปากแล้วว่าปีหน้าจะเข้ามาถ่ายทำสารคดีการแข่งขันเรือยาวประเพณีของเรา ซึ่งในปีนี้ เขาบอกว่ากระชั้นชิดเกินไป เลยเตรียมตัวมาไม่ทัน เรื่องนี้สร้างความยินดีเป็นอย่างยิ่งให้กับพี่น้องชาวสิงห์บุรีจะได้เชื่อมต่อวัฒนธรรมประเพณีสองประเทศเข้าด้วยกัน จะสร้างชื่อเสียงให้กับสิงห์บุรีกลายเป็นเมืองในประวัติศาสตร์หน้าใหม่ขึ้นมาทันที หากการเชื่อมประสานงานกันได้อย่างลงตัว เชื่อว่าปีหน้าจะมีสื่อมวลชนโดยเฉพาะทีวีของญี่ปุ่น เดินทางเข้ามาถ่ายทำอย่างแน่นอน เพียงแต่เราอำนวยความสะดวกทุกอย่างซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจะได้ดำเนินการต่อไป เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีจะทำให้สิงห์บุรีโด่งดังไปไกลถึงญี่ปุ่น เมื่อสองวัฒนธรรมนี้มาหลอมรวมกันได้ นี่คือความยิ่งใหญ่ในอนาคตที่การ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งจะต้องเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนในอนาคตอย่างแน่นอน 

นายอภิชาต  อินทร์พงษ์พันธ์ รองผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยด้ายนโยบายและแผน กล่าวอย่างมั่นใจที่จะดึงเอาสองวัฒนธรรมไทย-ญี่ปุ่น เข้าเชื่อมกันได้ด้วยประเพณีการแข่งขันเรือยาว ทั้งสองประเทศเข้ามาเชื่อมกันได้ นั่นจะเป็นการเปลี่ยนประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ที่เราจะต้องให้ความสนใจ       

 

ผอ.สุรชัย ศรีพลอย

สุรชัย  ศรีพลอย 

ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานลพบุรี-สระบุรี-สิงห์บุรี 

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานจังหวัดลพบุรี ที่ครอบคลุมพื้นที่สระบุรีและสิงห์บุรี่ อยู่ในเขตรับผิดชอบของ ททท.ภาคกลาง ส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยมองศักยภาพของการท่องเที่ยวจังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ที่ไม่ซับซ้อนมาก การวางคอนเส็ปต์”หลงรักประเทศไทย”ที่ทาง ททท.วางแผนจะนำเอาสิงห์บุรี เข้ามาสู่ยุทธการการท่องเที่ยวในเชิงศิลปวัฒนธรรม และเชิงเกษตรกรรม เพราะความพร้อม ของที่นี่ในเรื่องวัดวาอาราม ความเป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่จะต้องเข้ามาศึกษาเรียนรู้ ในเรื่องขนบประเพณี ต่าง ๆ ซึ่งจังหวัดสิงห์บุรี ยังมีแหล่งท่องเที่ยวอีกมากมายหากได้รับงบประมาณในการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม สร้างความแข็งแกร่งให้กับชุมชน ที่จะสร้างแหล่งท่องเที่ยวให้ถาวรได้ ต้องร่วมมือร่วมใจกันทุกภาคส่วน จะทำให้ที่นี่กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เข้ามาศึกษาจากเมืองเก่าเมืองแก่ในประวัติศาสตร์ได้เลย 

นายสุรชัย  ศรีพลอย ผอ.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานลพบุรี ที่รับผิดชอบสระบุรีและสิงห์บุรี ได้เปิดเผยถึงโครงการ”หลงรักประเทศไทย”ที่วางยุทธศาสตร์ทางการท่องเที่ยวให้กับสิงห์บุรีเอาไว้ถึง 3 แนวทางตัวหลักในการท่องเที่ยวคือ 1.การท่องเที่ยวเชิงเกษตร ที่อำเภอท่าช้าง 2.หนังใหญ่ วัดสว่างอารมณ์ 3.ตลาดปากบาง อำเภอพรหมบุรี ซึ่งมีหลายสิ่งหลายอย่างที่น่าสนใจมาก เพราะสิงห์บุรีเป็นเมือง ประวัติศาสตร์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี กับวีรกรรมของชาวบ้านบางระจัน มี พระนอนจักรสีห์ พระพุทธรูปไสยาสน์องค์ใหญ่ที่สุด ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอยู่แล้ว และสิงห์บุรีมีแหล่งท่องเที่ยววัดวาอารามชื่อดังเกจิอาจารย์ที่ขลัง ศิลปวัฒนธรรม แหล่งโบราณคดี ที่อยู่ไม่ไกลกันมากนัก จากตัวเมืองเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ เพียงไม่กี่กิโลเมตร สะดวกและง่ายต่อการเดินทาง มีที่พัก ร้านอาหารอร่อย และ โฮมเตย์รองรับสบายๆ 

แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอย่างยิ่งที่จะกลายเป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาเที่ยวในแบบ เชิงเกษตรกรรมในพื้นที่ของอำเภอท่าช้าง เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่น่าสนใจกับผลไม้ตามฤดูอย่าง เช่นกระท้อน ลูกใหญ่เนื้อหนาหวานอร่อย,ชมพู่ สามสีซึ่งดินของอำเภอนี้สามารถปลูกให้ชมพู่หวานกรอบสีสวยน่ารับประทาน มะไฟ ก็เป็นผลไม้ตามฤดูกาลที่ออกผลมาลูกใหญ่เนื้อแน่นหวานกรอบเช่นเดียวกัน เป็นจุดที่น่าสนใจ เพราะสามารถเข้ามาชมและชิมจากต้นภายในสวนของเกษตรกรได้เลยนอกจากนี้ยังมีโฮมสเตย์รองรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการชมวิถีชีวิตของชาวบ้าน ล่องเรือในแม่น้ำน้อยชมแหล่งโบราณคดีที่กระ จายให้เห็นถึงศิลปวัฒนธรรมโบราณของชาวสิงห์บุรี จุดที่น่าสนใจของท่าช้างอีกแห่งหนึ่งคือ วัดพิกุลทอง ห่างจากตัวเมืองไปแค่ 16 กม.ห่างจากพระนอนจักรสีห์เพียง 9 กม.ซึ่งชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า”วัดหลวงพ่อแพ”(พระเทพสิงหบุราจารย์)มีพิพิธภัณฑ์อัฐบริขารของหลวงพ่อแพตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบัน ภายในวันยังมีพระพุทธรูปปางประทานพรองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย “พระพุทธสุวรรณมงคลมหามุนี”หรือหลวงพ่อใหญ่ ขนาดหน้าตักกว้าง 11วา 2 ศอก 7 นิ้ว สูง21 วา 1 คืบ 3 นิ้ว สูงเด่นสง่างามเห็นมาแต่ไกล 

หนังใหญ่”วัดสว่างอารมณ์”อยู่ที่บ้านมอญ ตำบลต้นโพธิ์ อำเภอเมืองห่างจากศาลากลางหลังเก่า เพียง 2 กม.เท่านั้นเป็นศูนย์การเรียนรู้ของศิลปะหลายอย่าง ทั้งการศึกษา การก่อสร้างโบสถ์ วิหารศาลาและการปั้นพระพุทธรูปซึ่งสืบทอดมาจากตระกูลช่างบ้านหม้อ ธนบุรี และยังเป็นที่รวบรวมตัวหนังใหญ่ที่สมบูรณ์แบบที่สามารถเล่นได้กว่า 300 ตัวซึ่งทางพระครูสิหมุณี อดีตเจ้าอาวาสได้รวบรวมหนังใหญ่จากช่างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเอาไว้ และได้รับบริจาคจาก”ครูเปีย”หัวหน้าหนังเร่ในยุคก่อน ที่วัดแห่งนี้ ยังมีครูแกะตัวหนังสาธิตการแกะตัวหนังให้ดูกันสด ๆ ส่วนการแสดงต้องแจ้งล่วงหน้าถึงจะแสดงให้ดูได้ ซึ่งครูผู้แกะสลักจากตระกูล”ปิ่นทอง” จะทำให้เราได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของหนังใหญ่เข้าใจอย่างถ่องแท้ 

ตลาดปากบาง จะได้ไปเรียนรู้วิถีชีวิตของตลาดในสมัยโบราณกับบ้านเรือนที่ยังคงอนุรักษ์กันไว้อยู่อย่างไม่เปลี่ยนแปลง ไปชมวิถีชีวิตของชาว”ไทนพวน”ที่”วัดกุฎีทอง” ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทจำลองที่ประดิษฐานอยู่ในลักษณะเหมือนเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ซึ่งสร้างเมื่อปี 2443 โดยหลวงพ่อปัญญา อุตมะพิชัย เจ้าอาวาสบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ  ภายในวัดยังมี ศูนย์ศิลปะวัฒนะธรรมพื้นบ้านไทยพวน เป็นที่รวบรวมเครื่องใช่ไม้สอยในชีวิตประจำวันของชาวไทยพวน เสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องมือทำนา ดักสัตว์ จับปลา เป็นสิ่งที่น่าสนใจและมีประเพณี”กำฟ้า”ของชาวไทยพวน จัดขึ้นในวันขึ้น 3 ค่ำเดือน 3 จะต้องถือ พิธีทำบุญกัน 7วันซึ่งงานแห่งนี้จะมีขึ้นที่หมู่บ้านโพคาภิวัฒน์ อ.พรหมบุรี ซึ่งเป็นของคนไทยพวน ซึ่งคนไทยพวนจะต้องมารวมตัวกันในประเพณีนี้”กำฟ้า”ไม่ว่าจะอยู่ไหนก็จะเดินทางกลับบ้านเกิดในช่วงนี้กัน 

หลายสิ่งหลายอย่างของจังหวัดสิงห์บุรี ที่จะได้รับการพัฒนาให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทาง ศิลปะวัฒนะธรรม โดยเฉพาะวัดวาอารามในสิงห์บุรี มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่ยอมรับ ยังมีแหล่งเรียนรู้ใน เรื่องโบราณคดีเกี่ยวกับเตาเผาโบราณ แหล่งประวัติศาสตร์ชาวบ้านบางระจัน คูค่าย ซึ่งสิงห์บุรีมีความพร้อมในแหล่งท่องเที่ยวที่เดินทางไปไม่ไกลก็สามารถไปถึงแหล่งนั้นได้อย่างง่ายดายไม่น่าเบื่อ การเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวก็มาได้หลายทาง สิงห์บุรีจะต้องได้รับการปรับปรุงพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เพื่อให้อยู่ในโครงการ”หลงรักประเทศไทย” ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานลพบุรี กำลังดำเนินการทุกขั้นตอนอยู่ จึง อยากจะเชิญชวนนักท่องเที่ยวเข้ามาสัมผัสศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของชาวสิงห์บุรีในโอกาสต่อไป. 

 

Tags : นกตีเทียน

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view